5 สัญญาณของอาการขาดวิตามิน!

ในปัจจุบัน การใช้ชีวิตประจำวันของหลาย ๆ คนต้องแข่งกับเวลา ทำงานหนัก ซึงอาหารที่เลือกทานคงหนีไม่พ้นอาหาร Fast food อาหารกล่องแช่แข็ง ซึ่งอาหารที่กล่าวนี้ได้รับสารอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่แน่นอน ถึงแม้ว่าจะมีผักอยู่บ้าง แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ในแต่ละวันควรบริโภคผักและผลไม้อย่างน้อย 400 กรัม หากเทียบง่ายๆ จะเท่ากับปริมาณ 4-6 ทัพพี แต่หากเป็นผักสุกต้องเพิ่มเป็น 2 เท่า เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็งได้

การได้รับวิตามินและแร่ธาตุไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดออาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ได้ 

Vitaboost ได้รวม 5 สัญญาณที่ร่างกายกำลังเตือนให้รู้ว่าขาดวิตามิน และทำให้เรารู้ว่า ต้องปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารอย่างไรให้เหมาะสม ดังนี้ 

1. ปวดกระดูกและข้อ

ถ้าคุณกำลังมีอาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกและข้อ หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)  นั่นเป็นสัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังขาดวิตามินดี 

วิตามินดี มีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ของเราเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเดินทางไปสะสมที่กระดูกได้ดีขึ้น ทำให้ป้องกันการเกิดภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุนได้ และ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อีกทั้งช่วยลดภาวะความเครียดได้ดี โดยทำให้สมองหลังสาร serotonin มากขึ้น

วิตามินดี ถือเป็นวิตามินที่คู่ควรสำหรับผู้ที่ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย

ส่วนใหญ่ 80-90% ร่างกายได้รับวิตามินดีจากการสร้างวิตามินดีที่ผิวหนังหลังจากที่ได้รับแสงแดด (UVB) และอีกประมาณ 10-20% จากอาหารและการทานอาหารเสริม แหล่งอาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาเทราท์ ปลาทูน่า ปลาซาดีน ปลาคอด เห็ดหอม น้ำมันตับปลา และไข่แดง

2. ผมร่วง

ผมร่วง เป็นอาการที่พบในทุก ๆ คน แต่ผมร่วงในที่นี้ เป็นการร่วงของผมที่มากกว่าผิดปกติ จนอาจสูญเสียผมอย่างถาวรตามมา

สาเหตุของผมร่วง เกิดได้หลายปัจจัย เช่น ความเครียด ความเจ็บป่วย หรือการผ่าตัด การติดเชื้อ การแพ้ยา ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ และการขาดสารอาหาร เป็นต้น

วิตามินและแร่ธาตุ ที่ช่วยป้องกัน หรือ ช่วยให้ลดอาการผมร่วงได้น้อยลง มีดังนี้

ธาตุเหล็ก เป็นแร่ธาตุที่ช่วยสังเคราะห์ DNA ซึ่งช่วยกระตุ้นการรากผม หากร่างกายขาดธาตุเหล็กอาจทำให้ผมยาวช้า ไม่มีผมที่เกิดขึ้นใหม่ ไปจนถึงผมหลุดร่วง

ธาตุสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในการกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน และการแบ่งเซลล์ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการงอกของเส้นผม

กรดลิโนเลอิค (Linoleic acid :LA) และ กรดอัลฟาลิโนเลนิค (Alpha-linolenicacid :ALA) เป็นกรดไขมันที่สำคัญในการงอกของผม และ ความเงางามของเส้นผม 

วิตามินบี 3 (vitamin B3) เป็นวิตามินที่มีความสำคัญกับสุขภาพของผม หากขาดวิตามินบี 3 อาจทำให้เกิดการร่วงของผมเป็นหย่อมหรือวงรีได้

ไบโอติน (vitamin B7) เป็นวิตามินที่หลายคนมักหาทานตามท้องตลาดทั่วไป ซึ่งเป็นวิตามินที่มีความสำคัญในการป้องกันการเกิดผมร่วงได้

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก และ ธาตุสังกะสี และวิตามินบี ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม  ธัญพืช ถั่วและเมล็ดพืช

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยกรดลิโนเลอิค (Linoleic acid :LA) ได้แก่ ผักใบเขียว ถั่ว โฮลเกรนด์ และ น้ำมันพืช และ แหล่งอาหารของกรดอัลฟาลิโนเลนิค (Alpha-linolenic acid :ALA) ได้แก่ วอลล์นัท เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย และ ถั่วเหลือง

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไบโอติน (vitamin B7) ได้แก่ ไข่แดง และ เครื่องในสัตว์
ปัจจุบันมีวิตามินหลายรูปแบบที่อ้างว่าสามารถป้องกันผมร่วงได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากทานวิตามินที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย ก็อาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีเช่นกัน

การดูแลสุขภาพของเส้นผมที่ดี ไม่เพียงแค่ทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ต้องมีการสระผมให้ถูกวิธี หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนสูง ทำสี ย้อมผม ด้วย

3. โรคปากนกกระจอก

โรคปากนกกระจอก คือ รอยแผลบริเวณมุมปากด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน มีรอยแตกและแยกออกจากกัน เป็นสัญญาณที่ร่างกายกำลังบอกคุณว่า คุณขาดวิตามินบี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 2 และธาตุเหล็ก  

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน บี1 วิตามินบี 2 วิตามินบี6  และ ธาตุเหล็ก ได้แก่ เครื่องใบและเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ ธัญพืช ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ถั่วและเมล็ดพืช และผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม ผักคะน้า ผักเคล เป็นต้น

การป้องกันโรคปากนกกระจอกนั้นสามารถทำได้ โดยการเช็ดทำความสะอาดปากให้แห้งสนิทโดยเฉพาะที่บริเวณมุมปากเพื่อป้องกันการอับชื้น และดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น

4. ผิวหนังอักเสบและรังแค

โรคผิวหนังอักเสบ หรือ ที่หลาย ๆ คนเรียกว่า โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic dermatitis : SB) เป็นโรคที่มีภาวะผิวหนังอักเสบจากต่อมไขมันในชั้นผิวหนัง

หากเกิดอาการไม่รุนแรงจะมีลักษณะเป็นผื่นขึ้นเล็กน้อย ร่วมกับอาการคัน ในระดับที่อาการรุนแรงจะมีผื่นขึ้นในปริมาณมาก มีลักษณะเป็นผื่นแดง ผิวหน้าเป็นขุย และนอกจากขึ้นบนใบหน้าแล้ว ยังขึ้นตามลำตัวด้วย ซึ่งอาจทำให้กระทบต่อชีวิตประจำวันของหลาย ๆ คน

อาการผิวหนังอักเสบ รวมไปถึงการเกิดรังแค เกิดจากการขาดแร่ธาตุสังกะสี วิตามิน บี3 (Niacin) วิตามินบี 2 (Riboflavin) และวิตามินบี 6 (Pyridoxine)

อาหารที่อุดมไปด้วย วิตามิน บี3 วิตามินบี 2 และวิตามินบี 6 ได้แก่ โฮลเกรนด์ เครื่องในและเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง ผักใบเขียว และ ผักหัวต่าง ๆ เช่น มันฝรั่ง มันเทศ มันหวานญี่ปุ่น ข้าวโพด เป็นต้น

อาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุสังกะสี ได้แก่ อาหารทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหอยนางรม เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ถั่ว นมและผลิตภัณฑ์จากนม และธัญพืชที่ไม่ขัดสี

5. การมองเห็นในตอนกลางคืนไม่ชัดเจน และเกิดต้อลม

การได้รับปริมาณวิตามินเอที่ไม่เพียงพอในแต่ละวัน อาจทำให้เกิดอาการตาบอดกลางคืน (Night Blindness) เป็นอาการมองเห็นไม่ชัดเจนในเวลากลางคืนหรือเมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีแสงสลัว  

เมื่อไม่ได้รับการรักษา อาการตาบอดกลางคืนนี้สามารถรุนแรงไปสู่โรคตาแห้ง (Xerophthalmia) ซึ่งเป็นโรคหรืออาการที่เกิดจากการสร้างน้ำตาลดลงหรือ tear film ที่เคลือบบริเวณผิวดวงตา (Ocular surface) มีปริมาณหรือคุณภาพไม่ดีพอ ปัจจุบันพบปัญหามากขึ้นในวัยเรียนหรือวัยทำงานที่มีการใช้งานหน้าจอ VDT (Visual display terminal) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน้าจอ หน้าจอแท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน และหน้าจอคอมพิวเตอร์ 

แหล่งของอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ได้แก่ อาหารที่มาจากสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา ตับสัตว์ เนื้อสัตว์ ไข่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น อาหารที่มาจากพืช เช่น ผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือสีส้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง มันเทศเหลือง มะละกอสุก เป็นต้น

ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินเอและใช้ประโยชน์จากอาหารที่มาจากสัตว์ได้มากกว่าแหล่งของวิตามินเอที่มาจากพืช

สรุป 


สัญญาณเตือนของร่างกายข้างต้น บ่งบอกถึงว่าร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุไม่เพียงพอ ถึงแม้ร่างกายจะต้องการสารอาหารเหล่านี้เพียงน้อยนิด แต่ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ หากเป็นคนที่เลือกทานอาหาร ไม่ทานอาหารในบางชนิด ก็อาจเกิดผลเสียในร่างกายได้ แนะนำให้หาวิตามินและแร่ธาตุในรูปแบบอาหารเสริมมาทาน เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

การตรวจระดับวิตามินและแร่ธาตุในเลือดก่อนการตัดสินใจทานวิตามินวิตามินสูตรเฉพาะบุคคล ช่วยให้ป้องกันและดูแลสุขภาพได้ตรงจุด และทำให้การเลือกวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมกับตัวเองนั้น ง่ายขึ้น และ ตรงกับความต้องการของร่างกายอย่างแท้จริง

Kitrawee Tharak

Kitrawee Tharak

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ (กอช. 1921) และผู้เชี่ยวชาญด้านชะลอวัยและการฟื้นฟูสุขภาพ (Certificated Dietitian and Certification of Science Program in Anti-Aging and Regenerative Science)

Related Posts

วิตามินที่คุณควรรับประทาน… หากคุณกำลังเข้าสูตรลดน้ำหนักแบบคีโต

การลดน้ำหนักด้วยสูตรคีโตเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ด้วยหลักการจำกัดอาหารหลายชนิดโดยเฉพาะผักผลไม้ ธัญพืชซึ่งอุดมไปด้วย Phytonutrients ที่ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสเกิดโรคเรื้อรัง โดยสูตรคีโตมุ่งเน้น “High-fat, Moderate-protein, Low-carb meal plan” นั้นอาจทำให้คุณอาจขาดสารอาหารที่สำคัญบางชนิดได้

Read More >

ผลเสียที่ต้องระวัง
จากการทานวิตามินมากเกินไป

วิตามิน และ แร่ธาตุ (Micronutrients) คือ สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้ ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การดูดซืมสารอาหาร การหายใจระดับเซลล์ และการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล และ มีสุขภาพที่ดี พูดง่าย ๆ คือ วิตามินเป็นเหมือนแบตเตอรี่ให้กับรถยนต์ที่จำเป็นจะต้องมี แต่ไม่ได้เป็นพลังงานหลักในการขับเคลื่อนรถยนต์

Read More >

เริ่มต้นโปรแกรมดูแลสุขภาพ
กับ Vitaboost ได้ง่ายๆ